ซีพียู (CPU) สมองของคอมพิวเตอร์
ซีพียู (CPU) เป็นส่วนประกอบหลักทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคิด คำนวน ประมวลผลข้อมูลต่างๆทั้งการคำนวนตัวเลขด้านคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร และเชิงเปรียบเทียบข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ มากกว่า (>) น้อยกว่า (<) หรือเท่ากับ (=) โดยความเร็วของ CPU มึกถูกระบุด้วยค่าความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) เช่น 2.8 หรือ 3.6 GHz ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของ CPU และคอยให้จังหวะในการทำงานแก่วงจรรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเอตร์ให้ทำงานได้อย่างสอดคล้องกันภายใต้ฝาครอบบนตัวซีพียูจะมีชิปขนาดเล็กที่เรียกว่า Dig ซึ่งทำมาจากสารกึ่งตัวจำพวกซิลิกอนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการสร้างเป็นผังวงจรรวมขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนนับล้านๆตัวเชื่อมต่อกันเป็นวงจร ก่อนวางเส้นลายโลหะด้วยเครื่องจักรเพื่อเชื่อมต่อและบรรจุลงในตัวบรรจุภัณฑ์
ปัจจุบันซีพียูทีถูกใช้กันแพร่หลายมาจากบริษัท Intel และ AMD ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคของซีพียูแบบหลายหน่วยประมวลผลหรือหลายคอร์ (Multi-core) ตั้งแต่ 2, 3, 4 ไปจนถึง 8 คอร์ บรรจุในชิป Die ตัวเดียวทั้งนี้เพื่อช่วยกันประมวลผลหรือแบ่งทำงานหลายๆอย่างไปพร้อมกัน โดยซีพียูแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนอกจากจะถูกแบ่งกลุ่มโดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการอย่าง Core i7, Pentium, Atom, Phenom, Athlon ฯลฯ แล้ว ยังมักมีชื่อเล่นแบบไม่เป็นทางการที่ใช้ในระหว่างการพัฒนาหรือที่เรียกว่า "โค้ดเนม" (Code Name) ด้วย เช่น Gulftown, Bloomfied, Lynnfield, Clarksfield ฯลฯ รวมถึงโค้ดเนมที่ใช้เรียกชื่อสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบต่างๆที่ถูกพัฒนาอย่าง Sandy Bridge, Westmere, Core, Nehalem ฯลฯ อีกทั้งยังมีตัวเลขกำกับ เช่น 22, 32, 45, 65 nm (nm = nanometer หรือหนึ่งในพันล้านเมตร) เพื่อบอกขนาดลายวงจรหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตด้วย
ซีพียู (CPU) เป็นส่วนประกอบหลักทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคิด คำนวน ประมวลผลข้อมูลต่างๆทั้งการคำนวนตัวเลขด้านคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร และเชิงเปรียบเทียบข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ มากกว่า (>) น้อยกว่า (<) หรือเท่ากับ (=) โดยความเร็วของ CPU มึกถูกระบุด้วยค่าความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) เช่น 2.8 หรือ 3.6 GHz ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของ CPU และคอยให้จังหวะในการทำงานแก่วงจรรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเอตร์ให้ทำงานได้อย่างสอดคล้องกันภายใต้ฝาครอบบนตัวซีพียูจะมีชิปขนาดเล็กที่เรียกว่า Dig ซึ่งทำมาจากสารกึ่งตัวจำพวกซิลิกอนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการสร้างเป็นผังวงจรรวมขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนนับล้านๆตัวเชื่อมต่อกันเป็นวงจร ก่อนวางเส้นลายโลหะด้วยเครื่องจักรเพื่อเชื่อมต่อและบรรจุลงในตัวบรรจุภัณฑ์
ปัจจุบันซีพียูทีถูกใช้กันแพร่หลายมาจากบริษัท Intel และ AMD ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคของซีพียูแบบหลายหน่วยประมวลผลหรือหลายคอร์ (Multi-core) ตั้งแต่ 2, 3, 4 ไปจนถึง 8 คอร์ บรรจุในชิป Die ตัวเดียวทั้งนี้เพื่อช่วยกันประมวลผลหรือแบ่งทำงานหลายๆอย่างไปพร้อมกัน โดยซีพียูแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนอกจากจะถูกแบ่งกลุ่มโดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการอย่าง Core i7, Pentium, Atom, Phenom, Athlon ฯลฯ แล้ว ยังมักมีชื่อเล่นแบบไม่เป็นทางการที่ใช้ในระหว่างการพัฒนาหรือที่เรียกว่า "โค้ดเนม" (Code Name) ด้วย เช่น Gulftown, Bloomfied, Lynnfield, Clarksfield ฯลฯ รวมถึงโค้ดเนมที่ใช้เรียกชื่อสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบต่างๆที่ถูกพัฒนาอย่าง Sandy Bridge, Westmere, Core, Nehalem ฯลฯ อีกทั้งยังมีตัวเลขกำกับ เช่น 22, 32, 45, 65 nm (nm = nanometer หรือหนึ่งในพันล้านเมตร) เพื่อบอกขนาดลายวงจรหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตด้วย
0 comments:
Post a Comment