Wednesday, June 25, 2014

แรม (Ram) คือหน่วยความจำของหัวสมองคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนประกอบซึ่งคอยทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลาในระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล/คำสั่งต่างๆที่ใช้ในการประมวลผล ทดเลขในการคำนวณ เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้ซีพียูประมวลผล ฯลฯ สามารถจำแนกออกตามลักษณะของการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ
 

หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาบนเมนบอร์ด ซึ่งเราสามารถแบ่งออกตามสภาพการใช้งานได้ 2 ชนิดคือ หน่วยความจำถาวร และหน่วยความจำชั่วคราว
  • หน่วยความจำถาวร หรือ ROM (Read-Only Memory) ปัจจุบันได้ถูกพัฒนามาเป็นแฟลชรอม (Flash ROM) ให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลภายในรวมทั้งบันทึกข้อมูลลงไปใหม่ได้ไม่ยาก โดยใช้โปรแกรมขนาดเล็กทีถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หน่วยความจำชนิดนี้มักถูกนำไปใช้ทำเป็น ROM BIOS บนเมนบอร์ดทั่วไป
  • หน่วยความจำชั่วคราว หรือ RAM (Random Access Memory) จะคอยทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เรียกได้ว่าแทบทุกจังหวะในการทำงานของซีพียูนั้นจะต้องคอยอ่าน/เขียนข้อมูลกับหน่วยความจำแรมอยู่ตลอด เปรียบเสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่ซีพียูใช้ทำงาน ทั้งจดบันทึกข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ทดเลข พักรอข้อมูลก่อน/หลังการประมวลผล ฯลฯ แต่ถ้าหากปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลต่างๆที่อยู่ในแรมก็จะสูญหายไปหมด โดยทั่วไปเรามักจะรู้จัก RAM ประเภทนี้กันดีในชื่อ SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 ที่นำมาติดตั้งลงบนเมนบอร์ดนั่งเอง
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
คือ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้จัดเก็บหรือสำรองข้อมูลไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟมาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์, แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์, แผ่น CD/DVD/Blu-Ray, SSD (Solid-State Drive) และ USB Flash Drive เป็นต้น

Tagged: , ,

0 comments:

Post a Comment