Thursday, October 9, 2014

   RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory

RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง

RAM จะมีหน้าที่ที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล

Saturday, June 28, 2014

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ บทที่ 1
ในบทความก่อนหน้านี้เราก็ได้เรียนรู้ องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มาบ้างพอสมควรแล้ว ต่อมาในบทความองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ บทที่ 1นี้ก็จะขอพูดถึง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเชิงลึกที่แท้จริงว่ามีหลักการทำงานดำเนินงานอย่างไรกว่าที่จะได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ

โดยตามหลักแล้ว คำว่า Computer ในภาต่างประเทศนั้นเขาหมายถึงเครื่องคำนวณ ซึ่งประกอบไปด้วยชิ้นส่วนและกลไกลมากมายที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันนั้นคอมพิวเตอร์ ได้ถูเจาะจง ให้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำงานด้วยชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์ผู้มีความรู้ในด้านโปรแกรมคำสั่งเป็นอย่างดี โดยคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณสมบัติหลักๆอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน
1.สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยการสังเกตจากอุปกรณ์ทั้งหลายที่ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้เองแบบอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวเลย อย่างการอ่านข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมาให้ผู้ใช้งานได้เห็น ล้วนแต่เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติของคอมพิวเตอร์เอง
2.สามารถทำงานแบบอเนกประสงค์ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายอย่างตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ตามโปรแกรมชุดคำสั่งที่มี เช่น การคำนวณยอดขายสินค้า ด้วยโปรแกรมคำนวณราคายอดขาย การทำงานเอกสาร ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสาร วาดภาพ ด้วยโปแกรมวาดภาพ และโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียต่างๆ
4.เป็นระบบดิจิตอล คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชนิดไหน เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายทางคณิตสาสตร์ เมื่อส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกแปลงเป็นการคำนวณแบบตัวเลขหรือดิจิตอลทั้งหมด ก่อนจะแสดงผลลัพธ์กลับออกมาเป็นภาที่มนุษย์นั้นสามารถเข้าใจได้


องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ บทที่ 2
ในบทที่ 1 ของ บทความ องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นการเกลิ่นนำให้รู้จักกับคอมพิวเตอร์ว่าคืออะไร มีหลักสำคัญ 4 ประการอะไรบ้าง และในบทความที่ 2 นี้ จะมาพูดถึงหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ จริงๆเสียที หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยการทำงาน 3 ขึ้นตอน คือ การรับโปรแกรมและข้อมูล การประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์

1.การรับโปรแกรมและข้อมูล เป็นการรับข้อมูลหรือชุดคำสั่ง จากโปรแกรม ที่เขียนขึ้นมา ให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำงานตามคำสั่งได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งข้อมูลอาจจะเป็น ข้อความ ตัวอักษร โค้ดรหัส ตัวเลข เครื่องหลายพิเศษ ก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลในขึ้นตอนต่อไป
2.การประมวลผล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ตีความข้อมูล ให้แสดงออกมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ เป็นการคำนวณ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ด้วยการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกัน จากคำสั่งและโปรแกรมที่ส่งข้อมูลเข้ามาในหน่วยประมวลผล เช่นการคลิกเมาส์ การเลื่อนเมาส์ การพิมพ์ข้อความบนคีย์บอร์ด ก็จะถูกส่งเข้าไปคำนวรและแสดงผลออกมาในขั้นตอนถัดไป บนหน้าจอภาพ
3.การแสดงผล เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ออกมาทางหน้าจอภาพ เป็นข้อมูลตัวอักษร จากการที่เรากดแป้นพิมพ์บนคีย์บอร์ด ภาพเคลื่อนไหวของลูกศร จากการเลื่อนเมาส์ของเรา และผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆมากมาย เพื่อนำผลลัพธ์นั้นไปใช้ประโยชน์ตามงานที่ต้องการ
สำหรับองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ หากผู้อ่านคนใดสนใจที่จะเจาะลึกความรู้ในหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์มากกว่านี้ ก็สามารถหาซื้อหนังสือคอมพิวเตอร์มาศึกษาเองได้ แล้วพบกันใหม่กับเนื้อหาสารทางคอมพิวเตอร์ดีๆได้ในบทความหน้า



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมี องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ที่เป็นไปตามพื้นฐานที่มีการกำหนดกันมายาวนานเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ และมาตรฐานเดียวกันในการใช้งานระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเข้าใจตรงกัน เพราะ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่จะคอยสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและปฏิบัติการของบุคคลที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับองค์กรขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ให้สามารถใช้งานระบบสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง ประกอบไปด้วย องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ทั้งหมด 5 ประการ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ฮาร์ดแวร์ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญ ประกอบไปด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระบบสารสนเทศ
ซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เช่นกัน ใช้ในการสั่งฮาร์ดแวร์ให้ทำงาน เพื่อประมวลผลตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้
ข้อมูล องค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้สองสิ่งแรก ถ้าหากไม่มีข้อมูลก็จะไม่สามารถเป็นระบบสารสนเทศได้ เป็นตัวที่ทำให้ระบบสารสนเทศนั้นเกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลในระบบสารสนเทศแทบทั้งหมด โดยข้อมูลจะต้องทันสมัย มีการอัพเดทอยู่เสมอ และต้องถูกต้องมากที่สุด เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
บุคลากร ผู้บริหาร ผู้พัฒนา นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม ผู้ใช้งานทั่วไป ล้วนเป็นบุคคลากรที่มีส่วนในการทำให้ระบบสารสนเทศนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ต้องทำการเรียนรู้ เพื่อให้ระบบสารสนเทศนั้นสามารถปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้อง ตามลำดับงานที่ต้องการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการส่งข้อมูล

Thursday, June 26, 2014




จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญเฉพาะต้องติดต่อกับผู้ใช้ตลอดเวลาขณะใช้งานคอมพิวเตอร์ ในอดีตจอภาพที่นิยมใช้มักเป็น CRT ที่มีรูปร่างโป่งเทอะทะ น้ำหนักมาก และกินเนื้อที่บนโต๊ะทำงานแต่ปัจจุบันหันมาใช้จอภาพแบบ LCD แลพ LED กันหมดแล้ว จนกลายเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เพราะมีรูปร่างบาง น้ำหนักเบา แสดงผลด้วยความระเอียดสูง กินไฟน้อยกว่า ถนอมสายตา และไม่เปลืองเนื้อที่บนโต๊ะทำงาน

การ์ดแสดงผล (Graphic Card)  ปัจจุบันถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสลับซับซ้อนมาก ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลภาพแบบดิจิตอลเพื่อเปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพส่งออกไปที่จอแสดงผล ส่วนประกอบหลักบนตัวการ์ดคือ ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลภาพกราฟิกโดยเฉพาะการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงๆบางรุ่น ตัวชิป GPU อาจมีความสลับซับซ้อนมากพอๆกันกับซีพียูเลยทีเดียว และอาจมีความร้อนสูงมากจนต้องติดพัดลมพร้อมแผงระบายความร้อนขนาดใหญ่ไว้ด้วย


ไดรว์ CD/DVD/Blu-Ray สื่อบันทึกข้อมูลลงแผ่น เป็นกลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี/ดีวีดี หรือบลูเรย์ ซึ่งในการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะใช้เทคโนโลยีในการยิงลำแสงเลเซอร์ลงไปบนทั้งชั้นที่เคลื่อบสารไวแสงบางๆเอาไว้ เพื่อเปลียนคุณสมบัติทางเคมี ณ จุดนั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นหลุมหรือจุดสะท้อนและจุดทึบแสงขึ้นบนแผ่น สิ่งเหล่านี้คือข้อมูลทางดิจิตอล 0 กับ 1 ทีถูกบันทึกไว้ และในการอ่านข้อมูลเมื่อลำแสงเลเซอร์ถูกยิงไปตกกระทบลงบนจุดเหล่านั้นแล้วสะท้อนหรือไม่สะท้อนกลับมายังตัวเซนเซอร์ มันจะถูกอ่านแล้วแปลงไปเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้ง ก่อนจะถูกแปรสภาพและนำไปแสดงผลในรูปแบบอื่นๆต่อไป
ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ดที่สำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจของระบบ คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกันหรือทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวราบรื่นทั้ง ซีพียู แคช แรม กราฟิกการ์ด บัส ตัวควบคุม ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นตัวกำหนดชนิดและขีดจำกัดของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ เช่น ซีพียูที่ใช้, ความเร็วบัสของซีพียูและแรมที่ใช้ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของทั้งระบบเป็นอย่างมาก และถือเป็นองค์ประกอบหลักในการนำมาใช้พิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดที่เหมาะสมด้วย

Wednesday, June 25, 2014

 

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คลังเก็บข้อมูลหลัก
เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วและมีความจุสูงมาก อีกทั้งยังใช้เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวในระหว่างากรทำงานของโปรแกรมหรือระบบปฎิบัติการด้วย ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานแม่เหล็กกลมแบนที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ซึ่งยึดติดอยู่กับแกนมอเตอร์ที่หมุนแผ่นจานด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที โดยแผ่นจานแม่เหล็กแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน ที่ในแต่ละด้านเหนือแผ่นจากขึ้นไปเพียงไม่กี่ไมครอน จะมีหัวอ่าน/เขียนซึ่งถูกติดตั้งอยู่ที่ปลายแขนโดยยื่นเข้าไประหว่างแผ่นจานแม่เหล็กแต่ละแผ่นที่วางซ้อนกันอยู่ และถูกควบคุมให้เลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆบนแผ่นจานตามคำสั่งที่ได้รับจากซีพียู ทั้งหมดนี้จะถูกบรรจุไว้อยู่ภายในกล่องโลหะที่ปิดสนิทปราศจากฝุ่นละอองใดๆ
แรม (Ram) คือหน่วยความจำของหัวสมองคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนประกอบซึ่งคอยทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลาในระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล/คำสั่งต่างๆที่ใช้ในการประมวลผล ทดเลขในการคำนวณ เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้ซีพียูประมวลผล ฯลฯ สามารถจำแนกออกตามลักษณะของการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ
 
ซีพียู (CPU) สมองของคอมพิวเตอร์

ซีพียู (CPU) เป็นส่วนประกอบหลักทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคิด คำนวน ประมวลผลข้อมูลต่างๆทั้งการคำนวนตัวเลขด้านคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร และเชิงเปรียบเทียบข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ มากกว่า (>) น้อยกว่า (<) หรือเท่ากับ (=) โดยความเร็วของ CPU มึกถูกระบุด้วยค่าความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) เช่น 2.8 หรือ 3.6 GHz ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของ CPU และคอยให้จังหวะในการทำงานแก่วงจรรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเอตร์ให้ทำงานได้อย่างสอดคล้องกันภายใต้ฝาครอบบนตัวซีพียูจะมีชิปขนาดเล็กที่เรียกว่า Dig ซึ่งทำมาจากสารกึ่งตัวจำพวกซิลิกอนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการสร้างเป็นผังวงจรรวมขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนนับล้านๆตัวเชื่อมต่อกันเป็นวงจร ก่อนวางเส้นลายโลหะด้วยเครื่องจักรเพื่อเชื่อมต่อและบรรจุลงในตัวบรรจุภัณฑ์

องค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์นั้นประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆมากมายซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไปและเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการชิ้นส่วนเหล่านั้นจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ยิ่งถ้าต้องการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยแล้วเรายิ่งต้องรู้จักชิ้นส่วนต่างๆเหล่านั้นให้ดี เพื่อจะได้เลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเข้าใจถึงการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

Tuesday, June 24, 2014

ข้อมูล (Data), ไฟล์ (File) และโฟลเดอร์ (Folder) คืออะไร




  • ข้อมูล (Data) คือ สิ่งต่างๆที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ โดยจัดเก็บไว้ในรูปแบบของข้อมูลที่สาสมารถแปลกลับออกมาเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถรับรู้และเข้าใจได้ เช่น ข้อมูลภาพ เสียง ตัวเลข/ตัวอักษร และอื่นๆ
  • ไฟล์ (File) คือ ข้อมูลต่างๆที่โปรแกรมสร้างขึ้นหรือใช้งาน และถูกบันทึกเก็บไว้เป็นไฟล์โดยมีชื่อและนามสกุลที่จะบอกให้รู้ว่าเป็นข้อมูลชนิดใด ใช้กับโปรแกรมชนิดใด
  • โฟลเดอร์ (Foder) คือ แหล่งที่ใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งในแต่ละโฟลเดอร์จะสามารถเก็บไฟล์และข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร เมื่อข้อมูลถูกส่งผ่าน เข้าทางหน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ก็จะถูกส่งต่อเพื่อนำไปจัดเก็บหรือพักข้อมูลไว้ช่วยคราวที่หน่วยความจำ (Memory Unit) ก่อน จากนั้นจึงค่อยๆทยอยจัดส่งข้อมูลต่างๆที่ถูกนำมาจัดเก็บไว้ไปให้หน่วยประมวลผล (Processing Unit) เพื่อประมวลผล จากนั้นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วจะถูกส่งไปยังหน่วยแสดงผล (Output Unit) เพื่อแสดงผลออกทางอุปกรณ์ต่างๆต่อไป 

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนแรกที่ต้องติดต่อและสัมผัสกับผู้ใช้โดยตรงหน้าที่หลักของหน่วยนี้ก็คือ ตอบสนองการสั่งงานจากผู้ใช้แล้วรับเป็นสัญญาณข้อมูลส่งต่อไปจัดเก็บหรือพักไว้ที่หน่วยความจำ ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลนี้ก็มีหลายชนิด เช่น เมาส์ (Mouse), คีย์บอร์ด (Keyborad), จอยสติ๊ก (Joystick) และทัชแพด (Touch Pad) เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ออกตามขนาดและประสิทธิภาพในการทำงานได้ดังนี้

  • คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานเฉพาะด้าน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในด้านการคำนวณและการประมวลผลสูง มักถูกนำไปใช้ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ เช่น งานวิจัยหรืองานค้นคว้าทดลองขององค์กรใหญ่ๆระดับประเทศ อย่างองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือน่าซ่า (NASA) เป็นต้น
  • คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) ลักษณะเป็นตู้สูงใหญ่ ตั้งวางอยู่ในห้องปรับอากาศโดยเฉพาะมักถูกนำไปใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริหารข้อมูลต่างๆ กับผู้ใช้จำนวนมาก เช่น ธนาคาร, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP), หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนขนาดใหญ่เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบด้วยกันคือ
  1. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ทุกชิ้นซึ่งเราสามารถจับต้องได้ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ พาวเวอร์ซัพพลาย (แหล่งจ่ายไฟ) จอภาพ เคส คีย์บอร์ด เมาส์ ฯลฯ

  2. Software (ซอฟต์แวร์) คือ โปรแกรมหรือชุดข้อมูลคำสั่งต่างๆที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อใช้ควบคุมหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ โดยซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องถุกติดตั้งในคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมหรือสั่งการคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ระบบปฎิบัติการ Windows, Linux, MacOS และ Ubuntu เป็นต้น
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ใช้ติดตั้งบนซอฟต์แวร์ระบบ เพื่อช่วยให้เราสร้างสรรค์งานต่างๆได้ เช่น โปรแกรม Office, Photoshop, AutoCAD, 3ds MAX และโปรแกรม Antivirus ต่างๆเป็นต้น

รู้จักคอมพิวเตอร์

          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เด็กเล็กๆเดี๋ยวนี้ตามโรงเรียนเขาก็มีการสอนพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์กันแล้ว ผู้สูงอายุบางรายต้องหัดใช้งานให้เป็น เพื่อจะได้ร่วมพูดคุยหรือสื่อสารกับลูกหลานได้อย่างเข้าใจและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นักเรียนนักศึกษาที่อยู่ในวัยเรียนรู้หรือผู้ที่ทำงานแล้วก็จำเป็นต้องเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ไม่เฉพาะแต่กับการใช้งานเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาและดูแลลักษาเครื่องให้เป็นด้วย ส่วนผู้ที่ศึกษามาทางด้านนี้โดยตรงหรือสนใจในอาชีพนี้ก็ต้องฝึกฝนทักษะและเรียนรู้สึ่งต่างๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้รอบด้านทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เช่น การเขียนโปรแกรม การเลือกซื้อและประกอบเครื่อง ฯลฯ

          ดังนั้นก่อนที่เราจะเข้าใจถึงการทำงานของคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนต่างๆในลำดับต่อๆไป เราจึงควรที่จะมาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานคอมพิวเตอร์ต่างๆกันก่อน